วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สายพันธุ์ปลาคาร์พ 2

6. ซูซุย (Shusui)

ถ้าจะสังเกตุให้ดีแล้ว ปลาซูซุย ก็คือ ปลาอาซากิ ที่เป็นปลาแบบไม่มีเกล็ด (Doitsu) นั่นเอง เนื่องจากเป็นปลาที่เกิดจากการ
ผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง อาซากิ กับปลาชนิดไม่มีเกล็ด (Doistu) โดยศาสตราจารย์ Kichigoro Akiyama แห่งสถาบันประมงแห่งชาติญี่ปุ่น ทำให้ชาวโลกได้มีปลาแฟนซีคาร์พสวยๆ และดูแปลกตาเลี้ยงอีกสายพันธุ์หนึ่ง จุดเด่นของปลาสายพันธุ์นี้อยู่ที่เกล็ดขนาดใหญ่สีฟ้าเรียงซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบตั้งแต่หัวจรดหาง ซึ่งถือเป็นจุดแรกในการพิจารณาความสวยงามของปลาสายพันธุ์นี้ นอกจากนี้สีส้ม
สดที่ปรากฏบนตัวปลายังทำให้ปลาดูโดดเด่น เพราะตัดกับสีฟ้าบนตัวปลาอีกด้วย สีส้มที่ปรากฏขึ้นตามตำแหน่งต่างๆ ของตัวปลานี้ ทำให้ปลาซูซุยมีชื่อเรียกย่อยออกไปอีก


7. โกโระโมะ (Koromo)

คำว่าโกโรโมะแปลตรงตัวได้ว่าเสื้อคลุมเป็นปลาลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของปลาอาซากิกับปลาแฟนซีคาร์พสาย
พันธุ์อื่น ยกตัวอย่างเช่น Ai-koromo เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาโคฮากุตัวผู้กับปลาอาซากิตัวเมีย คำว่า Ai ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงสีฟ้าคราม แปลโดยรวมจึงหมายถึงปลาที่สวมเสื้อคลุมสีฟ้าคราม




8. โงชิกิ (Goshiki)

นักเลี้ยงปลามือใหม่บางคนอาจสับสนปลาโงชิกิกับปลาโกโรโมะได้ แต่จริงๆ ปลา 2 สายพันธุ์นี้มีความแตกต่างกันอยู่พอ
สมควร คือ ปลาโกโรโมะ จะมีสีดำปรากฏขึ้นซ้อนทับส่วนสีแดงบนตัวปลานี้ ในส่วนของพื้นขาวและส่วนหัวจะไม่มีการแซมของสีดำดังกล่าว แต่ปลาโงชิกิจะมีสีดำปรากฏขึ้นบนพื้นขาวและส่วนหัว ของปลาแต่การมีสีดำปรากฏขึ้นบนพื้นที่สีแดงหากมากเกินไปถือว่าเป็นการลดความเด่นของสีแดงบนตัวปลาลงไป


9. ฮิการิ มูจิโมโนะ (Hikari muji mono)

ปลาในกลุ่มนี้ เป็นปลากลุ่มที่มีการเรียกชื่อสับสนที่สุด เพราะสับสนกันในเทอมของภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง อันดับแรกไม่ว่า
ฮิการิ มูจิ โมโนะ / ฮิการิ โมโยโมโนะ และ ฮิการิ อุจึริโมโนะ ก็ล้วนถูกจัดอยู่ในกลุ่มใหญ่เดียวกัน คือ กลุ่ม ฮิการิโมโนะ (Hikari Mono) โดยคำว่า Hikari แปลว่า “เกล็ดแวววาว” ส่วน mono แปลว่า “ชนิด” ดังนั้นปลาฮิการิมูจิโมโนะ จึงจัดอยู่ในกลุ่มปลาเกล็ดแวววาวด้วยเช่นกัน ส่วนคำว่า muji นั้นแปลว่า ล้วนๆ หรือสีเดียว ดังนั้นจึงหมายความปลาฮิคาริมูจิโมโนะ คือปลาที่มีเกล็ดสี แวว วาวล้วนๆ สีเดียว



10. คินกินริน (Kinginri)
คินกินริน เป็นชื่อเรียกตามลักษณะเกล็ดที่แวววาวระยิบระยับ (Sparkling) ที่ขึ้นบนตัวปลา (คำว่า Kin แปลว่า ทอง , Gin
แปลว่า เงิน, Rin แปลว่า เกล็ด ดังนั้นแปลโดยรวมได้ว่าเกล็ดเงินเกล็ดทอง) ปลาในสายพันธุ์ใดก็ตามที่มีเกล็ดแบบนี้ขึ้นบนตัวก็สามารถใช้คำว่า Kinginrin นำหน้าชื่อสายพันธุ์หลักได้ เช่น kinginrin Kohaku, Kinginrin Showa Sanshoku เป็นต้น



--------------------------------------------------------------------



ไม่มีความคิดเห็น: