วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สายพันธุ์ปลาคาร์พ 1

จากการสังเกตจากลักษณะทางกายภาพเป็นเกณฑ์ โดยยึดลักษณะของเกล็ดเป็นเกณฑ์จะเห็นว่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
ปลาคาร์พชนิดมีเกล็ดเต็มตัว (Fully-scaled Nishikigoi)
ปลาคาร์พชนิดไม่มีเกล็ด (Doitsu-goi)
ซึ่งปลาทั้ง 2 ลักษณะนี้ สามารถพบได้ในทุกสายพันธุ์ของปลา โดยชนิดไม่มีเกล็ดนี้การเรียกส่วนใหญ่ จะต้องเติมคำว่า “Doitsu” ไว้ด้านหน้าหรือตามท้ายชื่อสายพันธุ์หลัก คล้ายกับ Prefix และ Subfix ของภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงลักษณะของปลาที่กล่าวถึงสายพันธุ์หลักของปลาแฟนซีคาร์พ หากจำแนกตามประเภทของปลาที่ส่งเข้าประกวดตามมาตรฐาน ZNA แล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 10 สายพันธุ์หลักดังนี้




1.โคฮากุ (Kohaku)

มีประโยคอมตะของวงการปลาแฟนซีคาร์พกล่าวไว้ว่า “Keeping Nishikigoi begin with kohahu and end with kohaku” ประโยคดังกล่าวสามารถยืนยันความงามอันเป็นอมตะของปลาสายพันธุ์นี้ได้ดีที่สุด จึงไม่แปลกที่ปลาสายพันธุ์นี้จะมีชื่อเรียกเฉพาะลักษณะของลวดลายบนตัวปลา (Patterns) ตลอดจนมีหลักเกณฑ์ในการตัดสินความสวยงามของปลาแต่ละตัวมากที่สุด นอกไปจากนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวยังสามารถใช้ขยายผลไปเป็นพื้นฐานในการพิจารณาความสวยงามของปลาสายพันธุ์อื่นได้อีกด้วย


2. ไทโชซันโชกุ (Taisho Sanshoku )

ชื่อเต็มของปลาสายพันธุ์นี้คือ ไทโชซันโชกุ ต่อมามีการเรียกให้สั้นลงเป็นไทโชซันเก้ แต่ไม่ว่าคำว่า ซันโชกุหรือซันเก้ ก็
ล้วนแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า สามสี ส่วนคำว่าไทโช (Taisho) นั้นเป็นชื่อของยุคสมัยการปกครองในญี่ปุ่น (คศ.1912-1926) ซึ่งปลาสายพันธ์นี้ได้เริ่มแพร่หลายในยุคสมัยไทโช ดังนั้นชื่อของปลาสายพันธุ์นี้จึงแปลได้ความหมายว่าปลาสามสีแห่งยุคไท



3. โชวา ซันโชกุ /ซันเก้ (Showa Sanshoku / Showa Sanke)

สายพันธุ์ที่สาม สายพันธ์สุดท้ายที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Big Three (ประกอบด้วยปลาสายพันธุ์โคฮากุ / ไทโชซันเก้ และ
โชวา ซันเก้) ความหมายของซันโชกุและซันเก้นั้นเป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้ว ตั้งแต่ในหัวข้อของไทโชซันเก้ ส่วนชื่อโชวา ก็เป็นชื่อยุคสมัยการปกครอง ซึ่งปลาสายพันธ์ได้ถูกผสมพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1927 (เพิ่งสิ้นยุคของไทโช เริ่มต้นยุคโชวา) ดังนั้นความหมายของชื่อปลาสายพันธ์นี้ก็คือปลา 3 สีแห่งยุคโชวา


4. อุจึริโมโนะ (Utsurimono)

เป็นยอดนิยมอีกสายพันธุ์หนึ่งของนักนิยมปลาบ้านเราถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในกลุ่ม Big Three ก็ตามจุดเด่นของปลาสายนี้อยู่
ที่สีดำ ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบยาวพาดตัวเลยเส้นประสาทข้างตัวของปลา (Lateral Line) ลงมาถึงช่วงท้องของปลา และลวดลายของสีดำที่พาดผ่านส่วนหัวของปลา ในลักษณะรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมี 3 รูปแบบมาตรฐานของส่วนหัวเช่นเดียวกับ ปลาโชวาซันเก้ นอกจากนี้ ในส่วนของครีบหน้า “Motoguro” ก็ยังเป็นสิ่งที่ควรจะมีเช่นเดียว

5. อาซากิ (Asagi)
ปลาสายพันธุ์นี้เป็นส่วนหนึ่ง ในปลาสายพันธุ์ดั้งเดิมของปลาแฟนซีคาร์พ ซึ่งอาซากิ เป็นปลาที่กลายพันธุ์มาจากปลาคาร์พ
มากอย (Magoi) ซึ่งชาวญี่ปุ่นเลี้ยงเป็นอาหารมาแต่โบราณกาล ต่อมาได้มีการนำปลาอาซากิมาผสมข้ามพันธุ์กับปลาแฟนซีคาร์พชนิดไม่มีเกล็ด (Doistu-goi) จึงได้ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ซูซุย (Shusui) นอกจากนี้ยังมีการนำเอาปลาอาซากิมาผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาโคฮากุ ทำให้ได้ปลาสายพันธุ์ โกโรโมะ (Koromo)





---------------------------------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น: