วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติความเป็นมาของ "แฟนซีคาร์พ"


เมื่อราว 1115 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หรือเมื่อ 3097 ปีมาแล้ว ประเทศจีนสมัยราชวงศ์โจวเคยมีภาพปลาคาร์พและบันทึกเกี่ยวกับเสนาธิการของจักรพรรดิ์ชื่อ เจียงจื่อเอี่ย ไปตกปลาคาร์พที่ริมแม่น้ำและเมื่อ 2500 ปีมาแล้ว กษัตริย์ราชวงศ์โจวสมัยเดียวกันของจีนได้ให้ปลาคาร์พตัวหนึ่งแก่ "ขงจื้อ" ที่ได้ลูกชายคนแรกเป็นของกำนัล ซึ่งภายหลังขงจื้อได้ตั้งชื่อบุตรชายของตนว่า "หลี่" แปลว่า คาร์พ หรือญี่ปุ่นเรียกว่า "โค่ย" (KOI) และมีตำราญี่ปุ่นบางเล่มได้กล่าวว่า ปลาคาร์พนั้นดั้งเดิมมาจากชนชาติเปอร์เชีย สำหรับญี่ปุ่นเอง ก็มีตำนานประวัติปลาคาร์พมานานกว่าหนึ่งพันปีมาแล้ว ตำนานมีว่า ชาวญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งมีอาชีพทำนาตามภูเขาสูงในชนบทเมื่อถึงฤดูหนาวหิมะตกหนักการคมนาคมติดขัด ชาวนาส่วนใหญ่ยากจนและไม่สามารถออกนอกบ้านไปทำมาหากิน ได้นิยมเลี้ยงปลาคาร์พหรือ "โค่ย" (KOI) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดไว้ในบ่อที่บ้านสำหรับเป็นอาหารในฤดูหนาว แต่เดิมนั้นปลาคาร์พมีเพียงสีดำและสีส้ม ซึ่งไม่มีความสวยงามและไม่มีคนญี่ปุ่นสนใจ เลี้ยงปลาคาร์พไว้เพื่อชมขณะนั้นเลย เมื่อประมาณ 160 ปีมานี้ ปรากฏว่าที่เมืองเอจิโกะ หรือเมืองนิกาต้าปัจจุบันได้บังเอิญเกิดมีปลาคาร์พสี "โคฮากุ สีขาวแดง" ขึ้นมาตัวหนึ่งเป็นสีที่ไม่เคยมีมาก่อนชาวบ้านแถบนั้นจึงได้สนใจขึ้น นับจากนั้นการเพาะพันธุ์ปลาประเภทนี้ว่า ปลาคาร์พสี (Coloured Crap) บ้าง ปลาคาร์พ ลวดลาย (Pattern Crap) บ้าง ปลาคาร์พบุปผาชาติ (Flower Crap) แต่ในที่สุดก็เรียกว่า "นิชิกิกอย" (Nishikigoi) อย่างที่เรียกกันในปัจจุบัน ในภาษาญี่ปุ่นคำว่า "นิชิกิ" (Nishiki) แปลว่า ผ้าไหมปักดอกมีลวดลายหลากสี "กอย" (Koi) หรือ "โกย" หรือ "กออิ" หรือ "โง่ย" แปลว่าปลาไน รวมความแปลว่า ปลาไนที่มีสีสันสวยงามหลากสีนั่นเอง ภาษาอังกฤษเรียกว่า "แฟนซีคาร์พ" (Fancy Crap) หรือภาษาไทยเราเรียกว่า ปลาไนญี่ปุ่นและปลาไนสี และที่กรมประมงเรียก "ปลาไนทรงเครื่อง" ซึ่งหมายถึง ปลานิชิกอยนี่เอง (ต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า "แฟนซีคาร์พ" ซึ่งหมายถึงปลาไนพันธุ์ญี่ปุ่น ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทยและต่างประเทศ) แหล่งกำเนิดของแฟนซีคาร์พคือบริเวณหมู่บ้านตาเกชาวา (TAKEZAWA) ฮิ-กาชิยามา-โอตา (HI-CASHIYAMA-OTA) ตาเนอุฮารา (TANEUHARA) และกามากาชิมา (KAMAGASHIMA) ในจังหวัดนิกาต้าซึ่งบางหมู่บ้านได้อยู่ในเมืองโอจิย่า ในปัจจุบัน เดือนพฤศจิกายน 1966 สมาคมผู้เลี้ยงปลานิชิกอยชื่อ ยามาโคชิ นิชิกอย บรีดเดอร์ส โค-ออเปอร์เรทีฟ แอสโซซิเอชั่น (YAMAKOSHI NISHIKIGOI BREEDERS CO-OPERATIVE ASSOCIATION) ได้สร้างอนุสาวรีย์ปลานิชิกอยและสลักคำว่า "แหล่งกำเนิดนิชิกอย" ไว้เป็นอนุสรณ์สำหรับคนรุ่นหลัง ที่หน้าโรงเรียนอนุบาลชื่อ TAKEZAWA ในเมืองนิกาต้า จุดเริ่มต้นและวัฒนาการของแฟนซีคาร์พ คือ เมื่อสามารถผสมพันธุ์ปลาคาร์พแดงกับปลาคาร์พขาวเป็นผลสำเร็จ ต่อมาในระหว่าง ค.ศ. 1874 - 1875 คาร์พพันธุ์ อาซากิ (ASAGI ฟ้าอ่อน) และ คิ-อุจึริ (KI-UTSURI เหลืองดำ) ก็ได้รับการผสมพันธุ์ ขึ้นมาและเป็นที่นิยมแพร่หลายในขณะนั้น ต่อมาใน ค.ศ. 1914 ได้มีผู้นำแฟนซีคาร์พ 28 ตัว ไปแสดงในนิทรรศการไทโช ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียวและได้รับรางวัลที่ 2 เหรียญเงิน เจ้าของปลามีความภาคภูมิใจเป็นที่สุด จึงได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายมกุฏราชกุมารของญี่ปุ่น นี่เองนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการเผยแพร่แฟนซีคาร์พให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางกันยิ่งกว่าแต่ก่อน ปัจจุบันแหล่งผลิตแฟนซีคาร์พที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ เมืองโอจิยา ยามาโคชิ นากาโอกะ โตชิโอ และ คิตะอุโอนุมา ชาวบ้านกว่าร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเพาะพันธุ์แฟนซีคาร์พขาย โดยอาศัยแหล่งเก็บน้ำธรรมชาติ และมีภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยตลอดจนมีพื้นที่นากว้างใหญ่อยู่บนเขาเหมาะแก่การปรับเป็นบ่อเลี้ยงแฟนซีคาร์พได้เป็นอย่างดี การเลี้ยงแฟนซีคาร์พเป็นที่นิยมกันในญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว ราคาของปลาก็ได้พุ่งพรวดขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทำให้มีพ่อค้าประเภทผู้ผลิตปลาประเภทนี้เพื่อส่งเป็นสินค้าขาออกด้วย ชาวบ้านที่ขายปลาก็เริ่มตื่นตัว แทนที่จะทำธุรกิจขายให้กับผู้ซื้อรายเดียวที่ตนต้องเสียเปรียบก็รวมตัวกันก่อตั้งเป็นกลุ่มผู้ขาย ทำการค้าขายกับผู้ซื้อหลายรายด้วยกันกลายเป็นการค้าแบบประมูลราคาในตลาดภายในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีที่อยู่นับร้อยแห่งด้วยกัน บางแห่งเป็นรูปบริษัท บางแห่งในรูปสหกรณ์ นับเป็นความก้าวหน้าอย่างมากของอุตสาหกรรมการเลี้ยงแฟนซีคาร์พแต่ขณะนี้การซื้อขายปลีกเป็นรายตัวสำหรับแฟนซีคาร์พลักษณะพิเศษก็ยังมีมากพอประมาณอยู่ ปัจจุบันความนิยมการเลี้ยงแฟนซีคาร์พได้ขยายออกไปทั่วโลกและเป็นที่ยกย่องและยอมรับกันทั่วไปว่าเป็น "เจ้าแห่งสัตว์เลี้ยงของโลก" ประเทศที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดนอกจากประเทศญี่ปุ่นแล้า ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ไต้หวัน เกาหลี ฟิลิปปินส์ บราซิล นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน กลุ่มตะวันออกกลาง และประเทศไทย ฯลฯ


-----------------------------------------------------------------

อ้างอิง


บทความปลาคาร์พทั้งหมดอ้างอิงมาจาก




------------------------------

โรคปลาคาร์พกับการรักษา


1. โรคจุดขาว (lch.white spot disease)
อาการ
- ปลาจะมีจุดขาว ๆ ขนาดเล็กประมาณ0.5-1.00มม. ปรากฎขึ้นตามลำตัวครีบและเหงือกแล้วเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเห็นชัดเจน ลักษณะการว่ายจะแกว่งลำตัวไปมาและพยายามจะถูลำตัวกับพื้นก้อนหินหรือต้นไม้น้ำ เพื่อให้จุดขาวเหล่านี้หลุดออกไปเมื่อมีอาการดังกล่าวมาแล้วจะไม่ค่อยยอมกินอาหารปลาบางชนิดจะลอยคอขึ้นมาอยู่บนผิวน้ำหรือบางชนิดจะซุกตัวอยู่ตามมุมนิ่ง ๆ สำหรับปลาที่มีสีอ่อนจะสังเกตุยาก

สาเหตุ - เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำชนิดหนึ่งชื่อ lchthyophthirius sp. มีขนาดเล็กเกาะอยู่เชื้อนี้จะขยายพันธุ์อยู่บนผิวของปลาที่สุขภาพอ่อนแอ (อาการอ่อนแอนี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำมาก
วิธีป้องกันและรักษา - พยายามรักษาระดับอุณหภูมิของน้ำให้สม่ำเสมอ อย่าให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน-ควรแยกปลาออกมากักโรคได้ก็จะเป็นการดี-โรคนี้สามารถรักษาด้วยการใช้ตัวยาเคมีบางชนิดกำจัดเชื้อได้


2. โรคเชื้อรา (Fugas Disease)
อาการ - มีลักษณะคล้ายก้อนสำลีบาง ๆ เกาะติดอยู่ตามผิวหรือปากปลา หากเป็นมาก ๆ อาจตายได้ภายใน 5-7 วัน วิธีป้องกันและรักษา-แยกปลาที่เป็นโรคออกมาไว้ต่างหาก-แช่ปลาลงในน้ำประมาณ 10ลิตรต่อเกลือ 2ขีด แล้วเช็ดเชื้อราด้วยสำลีออกให้หมดและทาด้วยยา Malachite green หรือ Furazone green บริเวณที่เป็นแผล3. โรคเสียการทรงตัว (Air bladder disease)
อาการ - ลักษณะการว่ายของปลาจะอุ้ยอ้ายลำตัวบิดไปมา แทนที่จะสบัดหางอย่างเดียวปลามักจะจมอยู่ก้นตู้ ครีบทุกครีบจะกางออก เวลาว่ายจะไม่สามารถหยุดตัวเองได้ จึงทำให้เกิดการชนตู้อยู่บ่อย ๆ ถ้ามีอาการมากบางครั้งจะหงายท้องลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่ก็จะพยายามกลับตัวให้ลอยตามปกติ หากกลับไม่ได้บ่อยครั้งก็จะตายไปในที่สุด
วิธีป้องกันและรักษา -โดยใช้ดีเกลือฝรั่ง 1 cc.ต่อน้ำ 1ลิตรแต่ไม่รับรองผลการรักษา เพราะโรคนี้เป็นแล้วหายยากมากแม้หายแล้วลักษณะการว่ายก็ไม่เหมือนปกติ


3. โรคเสียการทรงตัว (Air bladder disease)
อาการ - ลักษณะการว่ายของปลาจะอุ้ยอ้ายลำตัวบิดไปมา แทนที่จะสบัดหางอย่างเดียวปลามักจะจมอยู่ก้นตู้ ครีบทุกครีบจะกางออก เวลาว่ายจะไม่สามารถหยุดตัวเองได้ จึงทำให้เกิดการชนตู้อยู่บ่อย ๆ ถ้ามีอาการมากบางครั้งจะหงายท้องลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่ก็จะพยายามกลับตัวให้ลอยตามปกติ หากกลับไม่ได้บ่อยครั้งก็จะตายไปในที่สุด
วิธีป้องกันและรักษา -โดยใช้ดีเกลือฝรั่ง 1 cc.ต่อน้ำ 1ลิตรแต่ไม่รับรองผลการรักษา เพราะโรคนี้เป็นแล้วหายยากมากแม้หายแล้วลักษณะการว่ายก็ไม่เหมือนปกติ



4. โรคเกล็ดพอง (Scale protrusion)
อาการ - เกล็ดตามตัวของปลาจะตั้งอ้าออก ลำตัวจะบวมพอง ตามฐานของซอกเกล็ดจะมีลักษณะตกเลือด ส่วนมากจะไม่ยอมกินอาหารและจะลอยตัวขึ้นมาบนผิวน้ำแล้วก็ตายไปในที่สุดสาเหตุ เชื้อที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวคือ เชื้อแบคทีเรีย และโปรโตรซัวบางชนิด เช่น Aeromonashydrophila และ Glossatella sp.วิธีป้องกันและรักษา -สามารถรักษาได้ในอาการเริ่มแรกเท่านั้น ด้วยยาปฏิชีวนะและสารเคมีบางชนิด-ควบคุมอาหารประเถทโปรตีนให้ลดน้อยลง-ควรดูแลสภาพน้ำและสภาพแวดล้อมภายในตู้ให้สะอาด เปลี่ยนถ่ายน้ำตามกำหนดเวลาเสมอ

---------------------------------------------------------

การให้อาหารปลาคาร์พ

เราสามารถแบ่งประเภทอาหารของปลาคาร์พ ตามลักษณะออกเป็น 2 ประเภท


1. อาหารสด ได้แก่ กุ้งสด หนอนนก ไรน้ำจืด ดักแด้ ไรทะเล พืชผัก เป็นต้น อาหาร เหล่านี้หากจะเปรียบเทียบกับอาหารอีกกลุ่มหนึ่งคือ อาหารสำเร็จแล้ว อาหารสดมักจะมีข้อดีตรงที่ย่อยง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของอาหารสดก็คือ อาจมีเชื้อโรค ปรสิตที่ปะปนมาในอาหารที่อาจเป็นอันตรายต่อปลาได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงอาจให้อาหารสดบ้าง เป็นบางครั้งบางคราว และต้องทำการฆ่าเชื้อโรค โดยแช่ในน้ำด่างทับทิมก่อนประมาณ 5 – 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่งก่อนเลี้ยงปลา



2. อาหารสำเร็จรูป เป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิต และถูกอัดมาเป็นแท่งหรือเม็ด ซึ่งมีคุณสมบัติในการลอยน้ำ หรือจมน้ำ อีกทั้งมีสาร อาหารต่างๆ ตามความต้องการของปลา อาหารสำเร็จรูปนอกจากจะมีข้อดีเรื่องสารอาหารแล้ว ยังสร้างความสะดวกให้แก่ผู้เลี้ยงปลาด้วยการเลือกซื้อ อาหารสำเร็จรูป ควรซื้ออาหารที่ผลิตมาใหม่ๆ ไม่ควรเก็บนานเกินกว่า 3 เดือน เนื่องจาก คุณค่าสารอาหารจะสูญสลายตามระยะเวลาที่ผ่านไป โดยอาจถูก ออกซิไดส์ด้วยออกซิเจนในอากาศ แสงแดด และอุณหภูมิที่สูงอีกทั้งยังอาจจะเกิดปัญหาเรื่องมดมอด หรือเชื้อราขึ้นได้ ก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป ผู้เลี้ยงควรจะต้องตรวจสอบ วันเดือนปีทีผลิต วันหมดอายุ (ถ้ามี) ความคงรูปของอาหารว่า ลอยอยู่ในน้ำได้นานไม่ต่ำกว่า 10 นาที และรวมถึงสูตรของอาหาร ผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือได้





การให้อาหารปลาแฟนซีคาร์พ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1.ควรให้อาหารแก่ปลาแฟนซีคาร์พในปริมาณที่ปลาจะกินหมดได้ ภายในเวลา 5 นาที และควรให้ วันละ 2-3 ครั้ง และควรให้เป็นเวลา
2.การให้อาหารในปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง จะมีประโยชน์ต่อปลาสูงกว่าการให้อาหารปริมาณมาก แต่จำนวนน้อยครั้ง
3.การให้อาหารควรจะมีการหว่านอาหารในลักษณะกระจาย เพื่อให้ปลาที่มีขนาดเล็กได้มีโอกาสกินอาหารเท่าๆ กับปลาขนาดใหญ่
4.ขนาดของเม็ดอาหารสำเร็จรูป ควรจะมีขนาดเล็กเท่ากับขนาดเม็ดเล็กที่สุดที่ปลาขนาดเล็กที่สุดในบ่อจะสามารถกินได้
5.การให้อาหารปลาขนาดเม็ดเล็ก น่าจะช่วยให้ปลาสามารถย่อยอาหารได้ดีกว่าเม็ดใหญ่
6.นอกเหนือจากการให้อาหารสำเร็จรูปแล้วในแต่ละอาทิตย์ น่าจะมีการให้อาหารสดเสริมโดยเฉพาะจำพวกผักต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกาดขาว ตั้งโอ๋ ผักกวางตุ้งเพื่อให้ปลาได้สารอาหารครบถ้วน และเป็นการช่วยให้ปลาได้มีการระบายของเสียต่างๆ ออกจากร่างกาย ทำให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ
7.การให้อาหารสด เช่น หนอนนก ไส้เดือน ไรทะเล ดักแด้ไหม ควรให้เป็นบางครั้งบางคราวหรือสลับด้วยอาหารอื่นๆ เพื่อป้องกันภาวะการขาดสารอาหารอื่นๆ
8.เนื่องจากบางครั้งอาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาแฟนซีคาร์พอาจจะเก็บไว้นาน โดยผู้ซื้อไม่ทราบเกี่ยวกับอายุการเก็บ ผู้เลี้ยงอาจจะต้องมีการผสมอาหารเสริมประเภทอื่นลงในอาหารเม็ด เช่น วิตามินน้ำ หรือแบบผงคลุกกับอาหารเม็ดผึ่งลมให้แห้งแล้วค่อยนำไปใช้เลี้ยงปลา ก็จะช่วยให้ปลาได้รับสารอาหารครบถ้วนมากขึ้นได้ อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันมิให้ได้รับสารอาหารเสริมมากเกินไป ผู้เลี้ยงจึงควรมีการให้ และหยุดให้เป็นช่วงๆ
9.ปัจจุบันความรู้ในการให้อาหารปลาได้มีการพัฒนาสูงขึ้น ผู้เลี้ยงสามารถนำหัวอาหารที่เรียกว่า พรีไบโอติก และโปรไบโอติก มาผสมกับอาหารเม็ดตามคำแนะนำการใช้ที่ระบุในบรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยให้ปลามีความต้องการอาหารสูงขึ้น สามารถดูดซึมอาหารไปใช้มากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานโรคของปลาให้ดีขึ้น




















-------------------------------------------------------


























































เพศของปลากับการผสมพันธุ์



ต้องรู้ว่าตัวไหนผู้ ตัวไหนเมีย ปลาตัวเมียจะตัวอ้วนๆสั้นๆ ครีบอกจะเล็กเมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว ตัวผู้ผอมยาว ครีบอกใหญ่กว้างกว่า สำหรับการผสมพันธุ์จะมีอยู่หลายวิธี
1. การผสมพันธ์แบบธรรมชาติ (โดยไม่ฉีดยาเร่งฮอร์โมน) วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ประหยัด และปลอดภัยที่สุด แต่ข้อเสียคือ จะต้องผสมตามฤดูกาล
2. การผสมแบบธรรมชาติ (โดยการฉีดยาเร่งฮอร์โมน) วิธีนี้จะต้องนำปลาเพื่อฉีดยาเร่งฮอร์โมนก่อนที่จะนำปลาไปผสม วิธีนี้อาจฉีดฮอร์โมนในปลาเพศเมียเพียงตัวเดียว หรือฉีดทั้งเพศผู้และเพศเมียก็ได้ ข้อดีคือสามารถผสมได้ทั้งในฤดู และนอกฤดูผสม โดยการปรับสภาพอุณหภูมิในบ่อผสม
3. การผสมพันธ์แบบรีดไข่ผสมเทียมคือการรีดไข่-รีดน้ำเชื้อ และนำมาผสมในภาชนะที่เตรียมไว้ ข้อเสียเป็นอันตรายต่อปลา ข้อดีสามารถนำมาผสมได้ทุกฤดู



























-----------------------------------------------------------------------

สายพันธุ์ปลาคาร์พ 2

6. ซูซุย (Shusui)

ถ้าจะสังเกตุให้ดีแล้ว ปลาซูซุย ก็คือ ปลาอาซากิ ที่เป็นปลาแบบไม่มีเกล็ด (Doitsu) นั่นเอง เนื่องจากเป็นปลาที่เกิดจากการ
ผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง อาซากิ กับปลาชนิดไม่มีเกล็ด (Doistu) โดยศาสตราจารย์ Kichigoro Akiyama แห่งสถาบันประมงแห่งชาติญี่ปุ่น ทำให้ชาวโลกได้มีปลาแฟนซีคาร์พสวยๆ และดูแปลกตาเลี้ยงอีกสายพันธุ์หนึ่ง จุดเด่นของปลาสายพันธุ์นี้อยู่ที่เกล็ดขนาดใหญ่สีฟ้าเรียงซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบตั้งแต่หัวจรดหาง ซึ่งถือเป็นจุดแรกในการพิจารณาความสวยงามของปลาสายพันธุ์นี้ นอกจากนี้สีส้ม
สดที่ปรากฏบนตัวปลายังทำให้ปลาดูโดดเด่น เพราะตัดกับสีฟ้าบนตัวปลาอีกด้วย สีส้มที่ปรากฏขึ้นตามตำแหน่งต่างๆ ของตัวปลานี้ ทำให้ปลาซูซุยมีชื่อเรียกย่อยออกไปอีก


7. โกโระโมะ (Koromo)

คำว่าโกโรโมะแปลตรงตัวได้ว่าเสื้อคลุมเป็นปลาลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของปลาอาซากิกับปลาแฟนซีคาร์พสาย
พันธุ์อื่น ยกตัวอย่างเช่น Ai-koromo เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาโคฮากุตัวผู้กับปลาอาซากิตัวเมีย คำว่า Ai ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงสีฟ้าคราม แปลโดยรวมจึงหมายถึงปลาที่สวมเสื้อคลุมสีฟ้าคราม




8. โงชิกิ (Goshiki)

นักเลี้ยงปลามือใหม่บางคนอาจสับสนปลาโงชิกิกับปลาโกโรโมะได้ แต่จริงๆ ปลา 2 สายพันธุ์นี้มีความแตกต่างกันอยู่พอ
สมควร คือ ปลาโกโรโมะ จะมีสีดำปรากฏขึ้นซ้อนทับส่วนสีแดงบนตัวปลานี้ ในส่วนของพื้นขาวและส่วนหัวจะไม่มีการแซมของสีดำดังกล่าว แต่ปลาโงชิกิจะมีสีดำปรากฏขึ้นบนพื้นขาวและส่วนหัว ของปลาแต่การมีสีดำปรากฏขึ้นบนพื้นที่สีแดงหากมากเกินไปถือว่าเป็นการลดความเด่นของสีแดงบนตัวปลาลงไป


9. ฮิการิ มูจิโมโนะ (Hikari muji mono)

ปลาในกลุ่มนี้ เป็นปลากลุ่มที่มีการเรียกชื่อสับสนที่สุด เพราะสับสนกันในเทอมของภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง อันดับแรกไม่ว่า
ฮิการิ มูจิ โมโนะ / ฮิการิ โมโยโมโนะ และ ฮิการิ อุจึริโมโนะ ก็ล้วนถูกจัดอยู่ในกลุ่มใหญ่เดียวกัน คือ กลุ่ม ฮิการิโมโนะ (Hikari Mono) โดยคำว่า Hikari แปลว่า “เกล็ดแวววาว” ส่วน mono แปลว่า “ชนิด” ดังนั้นปลาฮิการิมูจิโมโนะ จึงจัดอยู่ในกลุ่มปลาเกล็ดแวววาวด้วยเช่นกัน ส่วนคำว่า muji นั้นแปลว่า ล้วนๆ หรือสีเดียว ดังนั้นจึงหมายความปลาฮิคาริมูจิโมโนะ คือปลาที่มีเกล็ดสี แวว วาวล้วนๆ สีเดียว



10. คินกินริน (Kinginri)
คินกินริน เป็นชื่อเรียกตามลักษณะเกล็ดที่แวววาวระยิบระยับ (Sparkling) ที่ขึ้นบนตัวปลา (คำว่า Kin แปลว่า ทอง , Gin
แปลว่า เงิน, Rin แปลว่า เกล็ด ดังนั้นแปลโดยรวมได้ว่าเกล็ดเงินเกล็ดทอง) ปลาในสายพันธุ์ใดก็ตามที่มีเกล็ดแบบนี้ขึ้นบนตัวก็สามารถใช้คำว่า Kinginrin นำหน้าชื่อสายพันธุ์หลักได้ เช่น kinginrin Kohaku, Kinginrin Showa Sanshoku เป็นต้น



--------------------------------------------------------------------



วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สายพันธุ์ปลาคาร์พ 1

จากการสังเกตจากลักษณะทางกายภาพเป็นเกณฑ์ โดยยึดลักษณะของเกล็ดเป็นเกณฑ์จะเห็นว่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
ปลาคาร์พชนิดมีเกล็ดเต็มตัว (Fully-scaled Nishikigoi)
ปลาคาร์พชนิดไม่มีเกล็ด (Doitsu-goi)
ซึ่งปลาทั้ง 2 ลักษณะนี้ สามารถพบได้ในทุกสายพันธุ์ของปลา โดยชนิดไม่มีเกล็ดนี้การเรียกส่วนใหญ่ จะต้องเติมคำว่า “Doitsu” ไว้ด้านหน้าหรือตามท้ายชื่อสายพันธุ์หลัก คล้ายกับ Prefix และ Subfix ของภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงลักษณะของปลาที่กล่าวถึงสายพันธุ์หลักของปลาแฟนซีคาร์พ หากจำแนกตามประเภทของปลาที่ส่งเข้าประกวดตามมาตรฐาน ZNA แล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 10 สายพันธุ์หลักดังนี้




1.โคฮากุ (Kohaku)

มีประโยคอมตะของวงการปลาแฟนซีคาร์พกล่าวไว้ว่า “Keeping Nishikigoi begin with kohahu and end with kohaku” ประโยคดังกล่าวสามารถยืนยันความงามอันเป็นอมตะของปลาสายพันธุ์นี้ได้ดีที่สุด จึงไม่แปลกที่ปลาสายพันธุ์นี้จะมีชื่อเรียกเฉพาะลักษณะของลวดลายบนตัวปลา (Patterns) ตลอดจนมีหลักเกณฑ์ในการตัดสินความสวยงามของปลาแต่ละตัวมากที่สุด นอกไปจากนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวยังสามารถใช้ขยายผลไปเป็นพื้นฐานในการพิจารณาความสวยงามของปลาสายพันธุ์อื่นได้อีกด้วย


2. ไทโชซันโชกุ (Taisho Sanshoku )

ชื่อเต็มของปลาสายพันธุ์นี้คือ ไทโชซันโชกุ ต่อมามีการเรียกให้สั้นลงเป็นไทโชซันเก้ แต่ไม่ว่าคำว่า ซันโชกุหรือซันเก้ ก็
ล้วนแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า สามสี ส่วนคำว่าไทโช (Taisho) นั้นเป็นชื่อของยุคสมัยการปกครองในญี่ปุ่น (คศ.1912-1926) ซึ่งปลาสายพันธ์นี้ได้เริ่มแพร่หลายในยุคสมัยไทโช ดังนั้นชื่อของปลาสายพันธุ์นี้จึงแปลได้ความหมายว่าปลาสามสีแห่งยุคไท



3. โชวา ซันโชกุ /ซันเก้ (Showa Sanshoku / Showa Sanke)

สายพันธุ์ที่สาม สายพันธ์สุดท้ายที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Big Three (ประกอบด้วยปลาสายพันธุ์โคฮากุ / ไทโชซันเก้ และ
โชวา ซันเก้) ความหมายของซันโชกุและซันเก้นั้นเป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้ว ตั้งแต่ในหัวข้อของไทโชซันเก้ ส่วนชื่อโชวา ก็เป็นชื่อยุคสมัยการปกครอง ซึ่งปลาสายพันธ์ได้ถูกผสมพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1927 (เพิ่งสิ้นยุคของไทโช เริ่มต้นยุคโชวา) ดังนั้นความหมายของชื่อปลาสายพันธ์นี้ก็คือปลา 3 สีแห่งยุคโชวา


4. อุจึริโมโนะ (Utsurimono)

เป็นยอดนิยมอีกสายพันธุ์หนึ่งของนักนิยมปลาบ้านเราถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในกลุ่ม Big Three ก็ตามจุดเด่นของปลาสายนี้อยู่
ที่สีดำ ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบยาวพาดตัวเลยเส้นประสาทข้างตัวของปลา (Lateral Line) ลงมาถึงช่วงท้องของปลา และลวดลายของสีดำที่พาดผ่านส่วนหัวของปลา ในลักษณะรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมี 3 รูปแบบมาตรฐานของส่วนหัวเช่นเดียวกับ ปลาโชวาซันเก้ นอกจากนี้ ในส่วนของครีบหน้า “Motoguro” ก็ยังเป็นสิ่งที่ควรจะมีเช่นเดียว

5. อาซากิ (Asagi)
ปลาสายพันธุ์นี้เป็นส่วนหนึ่ง ในปลาสายพันธุ์ดั้งเดิมของปลาแฟนซีคาร์พ ซึ่งอาซากิ เป็นปลาที่กลายพันธุ์มาจากปลาคาร์พ
มากอย (Magoi) ซึ่งชาวญี่ปุ่นเลี้ยงเป็นอาหารมาแต่โบราณกาล ต่อมาได้มีการนำปลาอาซากิมาผสมข้ามพันธุ์กับปลาแฟนซีคาร์พชนิดไม่มีเกล็ด (Doistu-goi) จึงได้ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ซูซุย (Shusui) นอกจากนี้ยังมีการนำเอาปลาอาซากิมาผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาโคฮากุ ทำให้ได้ปลาสายพันธุ์ โกโรโมะ (Koromo)





---------------------------------------------------------------------